Home Uncategorized รวมท่าออกกำลังกาย ‘ควรเลี่ยง’ เมื่อคุณปวดหลังส่วนล่าง

รวมท่าออกกำลังกาย ‘ควรเลี่ยง’ เมื่อคุณปวดหลังส่วนล่าง

by Lifeelevated Admin1

การปกป้องและสร้างความแข็งแรงให้หลังเป็นเรื่องสำคัญในการลดความเสี่ยงที่จะเกิดอาการเจ็บหลังส่วนล่างเพื่อการมีสุขภาพที่ดี การออกกำลังกาย เช่น โยคะ ช่วยเรื่องนี้ได้

ผู้ที่มีปัญหาจากอาการปวดหลังส่วนล่าง ควรออกกำลังกายอย่างระมัดระวัง การพยายามสร้างความแข็งแรงให้หลังอาจจะไปทำให้ยิ่งเกิดอาการเจ็บมากขึ้นได้

อาการปวดหลังส่วนล่าง คือ เส้นประสาทตั้งแต่หลังส่วนล่างจนถึงเท้าถูกรบกวนหรือถูกกดทับ ปกติจะดีขึ้นใน 4-6 สัปดาห์หรือนานกว่านั้น

โดยทั่วไป การออกกำลังกายหลายชนิดไม่เป็นอันตรายต่อผู้ที่มีอาการนี้ แต่การออกกำลังกายบางชนิดเช่น โยคะ และพิลาทิส อาจจะเสี่ยงที่จะทำให้เจ็บมากขึ้นได้

และพึงระลึกไว้ว่า การออกกำลังกาย/การยืดเป็นสิ่งดี แต่ต้องระวังไม่ให้ยืดมากเกินไปจนไปกระตุ้นอาการเจ็บที่เป็นอยู่ ต้องสร้างความแข็งแรงให้หลังแต่เพียงพอดี – การออกกำลังกายช่วยสร้างความแข็งแรงให้หลังได้ แต่ถ้ามีอาการเจ็บอยู่ ก็อาจจะทำให้เจ็บมากขึ้นได้หากไม่ระวัง

บทความนี้มีรายการการออกกำลังกายที่ผู้มีอาการปวดหลังส่วนล่างควรเลี่ยง และมีกิจกรรมดีๆ แนะนำให้ลองทำ

 

  1. วาดขาเป็นวงกลม

การออกกำลังกายที่ให้คุณวาดขาเป็นวงกลมแล้วยืดแฮมสตริงทันที

 

ทำไมต้องเลี่ยงท่านี้?

สิ่งสำคัญสำหรับผู้ที่มีอาการปวดส่วนล่างคือ กล้ามเนื้อจะได้ประโยชน์จากการออกกำลังกาย แต่เส้นประสาท เช่น เส้นประสาทหลังส่วนล่างซึ่งไม่ชอบการถูกยืด อาจถูกรบกวนได้

 

  1. นั่งและเหยียดเส้นแฮมสตริง

นั่งยืดขาตรง เอามือเอื้อมจับปลายเท้า อาจทำท่านี้จากการยืน แล้วโน้มตัวเอามือแตะปลายนิ้วเท้าได้เช่นกัน

 

ทำไมต้องเลี่ยงท่านี้?

ขณะเอื้อมไปแตะนิ้วเท้า ไม่ใช่แค่เส้นแฮมสตริงที่ถูกยืด แต่เส้นกระดูกสันหลังก็จะถูกยืดไปด้วย ซึ่งเส้นประสาทหลังส่วนล่างซึ่งอยู่ใต้เส้นแฮมสตริงก็จะถูกยืดด้วยเช่นกัน (บางครั้งจึงรู้สึกเหมือนว่า เส้นแฮมสตริงทำให้เกิดอาการปวดหลังส่วนล่างนั่นเอง)

 

  1. ท่ายืดเข่าของจั๊มเปอร์

คล้ายท่านั่งยืดแฮมสตริงแต่เพิ่มการยกขาขึ้นลง (คล้ายท่านักกระโดดข้ามรั้ว)

 

ทำไมต้องเลี่ยงท่านี้?

จากท่ายืดแฮมสตริงและก้มตัวไปด้านหน้า เพิ่มการบิดและล็อกกระดูกเชิงกรานก่อนเริ่มบิดหลัง ซึ่งเป็นการเพิ่มการกดกล้ามเนื้อและเส้นประสาทหลังส่วนล่าง

 

  1. ท่ายกขา 2 ข้าง

ท่าออกกำลังกายโดยการนอนหงายแล้วยกขา 2 ข้างขึ้นพร้อมกัน

 

ทำไมต้องเลี่ยงท่านี้?

การออกกำลังกายท่านี้ถูกออกแบบมาเพื่อให้ใช้กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว เพื่อสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อหน้าท้องและหลัง ซึ่งอาจทำให้อาการปวดเพิ่มมากขึ้น

 

ถ้ากล้ามเนื้อหน้าท้องคุณไม่แข็งแรง น้ำหนักของขาทั้ง 2 ข้างจะไปลงที่หลังส่วนล่าง ซึ่งเป็นการเสี่ยงต่อการเกิดอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทและปวดเส้นประสาทหลังส่วนล่างได้

  1. ท่าสุนัขก้มหน้า

เริ่มจากวางมือลงไปบนพื้นและกางนิ้วออก ดันตัวขึ้นด้วยมือและเท้าเป็นรูปตัวสีคว่ำ

 

ทำไมต้องเลี่ยงท่านี้?

เพราะท่านี้เป็นการยืดเส้นแฮมสตริง ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องเลี่ยง

 

  1. ท่าเบนท์โอเวอร์โรล์

เป็นท่าการออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่ง โดยการเพาะกาย และยกน้ำหนักไปพร้อมกัน

โดยยืนก้มตัวไปด้านหน้า ถือบาร์เบลหรือดัมเบลด้วยมือทั้งสองข้าง ยกน้ำหนักด้วยแขนและขาช่วยรับน้ำหนัก เพื่อสร้างความแข็งแรงให้หลัง

 

ทำไมต้องเลี่ยงท่านี้?

อาจเกิดการบาดเจ็บจากการออกแบบผิดท่า เช่น หลังงอ ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการเคล็ด บาดเจ็บ หรือหมอนรองกระดูกเคลื่อนได้

 

 

  1. ท่าเล่นกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง

คล้ายกับท่าเบนท์โอเวอร์โรล์ เป็นท่าที่ใช้ในเวทเทรนนิ่ง หรือการออกกำลังกายโดยใช้น้ำหนัก คือการออกกำลังกายโดยก้มตัวไปด้านหน้าเพื่อยกบาร์เบลโดยไม่งอเข่า และยกแขนขึ้น

 

ทำไมต้องเลี่ยงท่านี้?

เช่นเดียวกับการยืดเส้นแฮมสตริง หากทำผิดท่านิดเดียวอาจทำให้อาการหมอนรองกระดูกเคลื่อนแย่ลงได้

  1. ซิทอัพแบบขาตรง

การซิทอัพแบบเหยียดขาตรงแทนการงอเข่าและวางเท้าบนพื้น

 

ทำไมต้องเลี่ยงท่านี้?

ท่านี้เป็นท่าที่ทำให้เส้นประสาทหลังส่วนล่างตึง และเกิดแรงกดที่กระดูกสันหลังมากขึ้น

 

  1. เฮฟวี่สควอทส์

เป็นรูปแบบหนึ่งของการยกน้ำหนักโดยการยกบาร์เบลขึ้นและให้น้ำหนักอยู่ที่บ่า และเปลี่ยนจากท่าสควอทเป็นท่ายืน

 

ทำไมต้องเลี่ยงท่านี้?

ท่านี้อาจทำให้เกิดอาการตึงและเกิดแรงกดที่หลังส่วนล่าง ซึ่งอาจจะเพิ่มการกดทับที่หมอนรองกระดูกและทำให้อาการเจ็บเส้นประสาทหลังส่วนล่างรุนแรงขึ้น

 

  1. การปั่น

การปั่นเป็นรูปแบบการออกกำลังกายที่ดี แต่ก็ยังต้องหลีกเลี่ยง เพราะอะไร?

การปั่นเป็นการค่อมหลังไปที่มือจับ ซึ่งจะเพิ่มแรงกดไปที่หลัง และดึงรั้งเส้นประสาทซึ่งอาจจะกระตุ้นอาการเจ็บที่เส้นประสาทหลังส่วนล่างได้ ส่วนการปั่นในท่าหลังตรงจะช่วยลดอาการตึงที่หลังลงได้

 

  1. เบอร์พี

เริ่มด้วยท่าพุชอัพ แล้วกระโดดขึ้นสู่ท่าสตาร์จั๊มท์ และกลับมาสู่ท่าพุชอัพ และทำซ้ำ

 

ทำไมต้องเลี่ยงท่านี้?

การทำท่านี้ซ้ำๆ เป็นการออกกำลังกาย 2 จุดระหว่างการยืดหลัง ซึ่งอาจจะกดไปที่เส้นประสาทหลังส่วนล่างของผู้ที่มีอาการบาดเจ็บส่วนนี้อยู่แล้ว

 

การออกกำลังกายสำหรับผู้ที่มีปัญหาที่เส้นประสาทหลังส่วนล่าง

ในขณะที่มีการออกกำลังกายเฉพาะ และกีฬาบางอย่างที่ควรเลี่ยง สิ่งสำคัญที่สุดคือเรื่อง ความหนักเบาในการออกกำลังกายนั้นๆ คุณสามารถออกกำลังกายได้โดยจะต้องไม่ยืดหลัง ขา และแฮมสตริง มากเกินไป

การนั่งนานๆหรือการไม่ขยับเขยื้อนก็ทำให้เกิดอาการเจ็บที่เส้นประสาทหลังส่วนล่างได้  การออกกำลังกายอย่างถูกต้องจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก

การออกกำลังกายที่เหมาะกับผู้ที่มีอาการเจ็บเส้นประสาทหลังส่วนล่างที่จะให้คุณสนุกและไม่ทำให้เจ็บเส้นประสาทหลังส่วนล่าง มีดังนี้

  • เดิน
  • ว่ายน้ำ
  • โยคะ (เลี่ยงบางท่าที่ห้ามทำตามที่บอกไป)

กิจกรรมบางอย่าง เช่น การไปยิม ต้องเลี่ยงการออกกำลังกายบางท่า เลี่ยงการใช้บางเครื่อง หรือ การทำซ้ำหลายเซ็ท ที่จะเป็นการกดทับไปที่หลัง หรือยืดหลังและขา

ข้อมูลนี้เป็นเพียงข้อแนะนำสำหรับผู้ที่มีอาการบาดเจ็บที่เส้นประสาทหลังส่วนล่าง ไม่ควรใช้แทนคำปรึกษาหรือคำแนะนำจากแพทย์ได้

.

.

ติดตาม Life Elevated ได้ที่

Website: www.lifeelevated.club/

Facebook: Life Elevated ชีวิตยกระดับ

Twitter: @_lifeelevated_

Instagram: @lifeelevatedclub

Line OA: @Lifeelevatedclub

Blockdit: Life Elevatedclub

.

.

#LifeElevated #ออกกำลังกาย #Exercise

.

อ้างอิง : เอ็ทน่า อินเตอร์เนชั่นแนล คือผู้ให้บริการประกันสุขภาพระดับนานาชาติ

https://www.nakornthon.com/article/detail/%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%AC%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87

https://www.princsuvarnabhumi.com/exercise-injured-back/

https://www.bangpakokhospital.com/procedure/content/Herniated%20Nucleus%20Pulposus

https://www.khonkaenram.com/th/services/health-information/pfe-patient-and-family-education/surg-ortho/7

Related Articles

Leave a Comment