กลืนลำบาก
เกิดจากความผิดปกติของช่องปากและคอหอย เช่น จากโรคอัลไซเมอร์ จากโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งผู้ที่กลืนลำบากจะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดการสำลักเศษอาหารแล้วหลุดเข้าไปในหลอดลมหรือช่องปอด อาจทำให้ปอดติดเชื้อหรือหลอดลมอุดตันได้
ป้องกันโดย ปรับรูปแบบอาหารให้เหมาะสม เช่น อาจเริ่มจากอาหารข้น ปริมาณน้อย ๆ ก่อน, ขณะกลืนอาหารให้ก้มคอลง ไม่แหงนคอไปด้านหลัง, ปรับเตียงขึ้น 45-90 องศา ขณะรับประทานอาหาร
แผลกดทับ
เกิดจากการนอนนิ่ง ๆ เป็นเวลานาน ส่งผลให้บริเวณปุ่มกระดูกต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ท้ายทอย ศอก ก้นกบ ส้นเท้า ถูกกดทับจนขาดเลือดมาเลี้ยงที่ผิวหนังแล้วเกิดเป็นแผล ซึ่งสามารถลามลึกไปจนถึงชั้นกล้ามเนื้อและกระดูกได้ และการเกิดแผลกดทับยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้นได้อีกด้วย
ป้องกันโดย เปลี่ยนท่านอนหรือพลิกตัวทุก 2 ชั่วโมง, เสื้อผ้าและผ้าปูที่นอนต้องเรียบ ไม่มีรอยย่น, ทำความสะอาดและหมั่นดูแลสุขอนามัย ป้องกันผิวหนังเปียกชื้น, หาอุปกรณ์เสริมช่วยป้องกันแผลกดทับ เช่น ที่นอนลม อุปกรณ์ช่วยพลิกตัวผู้ป่วยติดเตียง
สุขอนามัย
ดูแลความสะอาดหลังขับถ่าย หากใส่สายสวนปัสสาวะ ผู้ดูแลควรเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะทุก 2-4 สัปดาห์ หากพบว่าปัสสาวะมีสีขุ่นหรือปัสสาวะไม่ออกควรรีบไปพบแพทย์ และควรดูแลสุขภาพช่องปากและฟันด้วย
สุขภาพจิต
ผู้สูงอายุที่ติดเตียงอาจมีความเบื่อหน่ายและความทุกข์จากโรคต่าง ๆ ดังนั้นผู้ดูแลควรหากิจกรรมผ่อนคลายทำร่วมกับผู้สูงอายุ และอาจปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมเพื่อขอคำแนะนำได้
.
.
ติดตาม Life Elevated ได้ที่
Website: www.lifeelevated.club/
Facebook: Life Elevated ชีวิตยกระดับ
Twitter: @_lifeelevated_
Instagram: @lifeelevatedclub
Line OA: @Lifeelevated
Blockdit: Life Elevated
.
.
#LifeElevated #ผู้สูงอายุ #Elderly #โรคผู้สูงอายุ #ผู้สูงอายุนอนติดเตียง #นอนติดเตียง
.
อ้างอิง :