Home Creativity ชวนรู้จักเทคนิคฝึกความคิดสร้างสรรค์แบบฉบับ “อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์” และ “สตีฟ จอบส์”

ชวนรู้จักเทคนิคฝึกความคิดสร้างสรรค์แบบฉบับ “อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์” และ “สตีฟ จอบส์”

by Lifeelevated Admin1

หลายคนอาจจะคิดว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นเรื่องของพรสวรรค์เฉพาะบุคคล หรือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ เวลาที่เราไม่ได้ตั้งใจ

แต่จริงๆ แล้ว รู้หรือไม่ว่า มนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมกับความคิดสร้างสรรค์ และสามารถฝึก หรือพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เหล่านั้นได้ เหมือนกับการออกกำลังกาย เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อ ได้เช่นกัน

ซึ่งวิธีในการฝึกฝนความคิดสร้างสรรค์ก็มีหลายวิธี
Life Elevated รวบรวม 3 วิธีฝึกความคิดสร้างสรรค์ ที่สามารถทำได้ง่ายๆ ดังนี้

 

  1. กำหนดช่วงเวลา “Non-time”

Non-time คือช่วงที่เราได้พักผ่อนสมอง หรือช่วงเวลาที่เราได้มีอิสระ โดยไม่ต้องคาดหวังเรื่องผลลัพธ์ใดๆ ต้องยอมรับว่า หลายๆ ครั้งที่เราไม่รู้ว่า ความคิดสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นมาเมื่อไรและยิ่งเราไปกดดันเรื่องเวลาในการสร้างแรงบันดาลใจ เช่น เราไปกำหนดว่าต้องออกแบบโลโก้สำหรับลูกค้าในอีกสามชั่วโมงข้างหน้า อาจทำให้เราไม่สามารถคิดงานออกได้เลย

ดังนั้น ทางออกของปัญหาในข้อนี้ก็คือ ลองจัดตารางเวลา Non-time ในแต่ละวัน ให้เป็นช่วงเวลาที่เราได้พักผ่อนสมอง หรือช่วงเวลาที่เราได้มีอิสระ โดยไม่ต้องคาดหวังเรื่องผลลัพธ์ใด ๆ ก็จะช่วยลดความกดดัน และช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในรูปแบบใหม่ ๆ ได้มากขึ้น

นอกจากนี้ การขจัดความเครียดและความวิตกกังวลออกจากสมองของเรา ยังเป็นสิ่งที่จำเป็น เพื่อให้สมองของเรากลับมาแจ่มใสได้อีกครั้ง ในวันที่ไม่มีแรงบันดาลใจที่น่าสนใจก็คือ วิธี Non-time ที่ว่านี้
นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลและผู้คิดค้นทฤษฎีสัมพัทธภาพอย่าง Albert Einstein ก็เคยนำไปใช้
และยังบอกว่า ไอเดียเจ๋งๆ ส่วนมาก มักแวบเข้ามาตอนไม่ได้คิดอะไร และนั่งอยู่เฉยๆ

 

  1. การเขียน ขุมพลังมหัศจรรย์ แห่งความสร้างสรรค์

รู้หรือไม่ว่า “การเขียน” สามารถช่วยให้เราปลดล็อกความคิดสร้างสรรค์ได้ เพียงแค่เรานั่งลง และเขียนสิ่งที่อยู่ในหัว แบบไม่ผ่านการกลั่นกรองใด ๆ ทั้งสิ้น แค่นี้เราก็ได้ปลดปล่อยสิ่งที่อยู่ในหัวเราออกมาแล้ว วิธีนี้จะช่วยปล่อยให้ความคิดไหลออกจากหัวของเราโดยตรง และยังช่วยให้เราขจัดความคิดหรือความกังวลออกไปด้วย ซึ่งจะช่วยเพิ่มพื้นที่สำหรับความคิดสร้างสรรค์ของเราได้

โดยหนึ่งในวิธีที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายก็คือ “Morning Pages” หรือก็คือ การเขียนสิ่งที่อยู่ในหัวของเราทันทีหลังตื่นนอน

โดยมีความยาวประมาณ 3 หน้ากระดาษ แต่ถ้าเราไม่รู้ว่าจะเขียนอะไร ก็ให้เขียนไปว่า ไม่รู้ ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะครบ 3 หน้า ซึ่งเทคนิคนี้ คุณ Julia Cameron เป็นคนคิดค้นขึ้นมา เพื่อแก้อาการสมองตัน คิดงานไม่ออก โดยคุณ Julia บอกว่า การเขียนสิ่งที่อยู่ในหัวทันทีหลังจากตื่นนอน เป็นสิ่งที่ทำให้เราได้เชื่อมโยงกับตัวเองและเป็นการสำรวจความคิดต่างๆ ของเราก่อนที่สมองจะเข้ามาจัดระเบียบความคิดให้เป็นระบบ ก็ไม่แน่ว่า เราอาจพบความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ซ่อนอยู่ในงานเขียนอิสระของเราก็เป็นได้

นอกจากการเขียน Morning Pages แล้ว ยังมีอีกหนึ่งวิธีการเขียนที่ช่วยฝึกความคิดสร้างสรรค์ได้ นั่นก็คือ “Calligraphy” ซึ่ง Calligraphy ก็คือ งานศิลปะการเขียนที่มีความบรรจงสวยงาม ที่เรามักจะเห็นงานเหล่านี้ผ่านโลโก ภาพงานศิลปะ หรือการ์ดเชิญในงานต่าง ๆ

โดยวิธีนี้ Steve Jobs เคยบอกว่า เป็นสิ่งที่ทำให้เขาได้ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ เขาเคยลงเรียนการเขียน Calligraphy ที่ Reed College ทำให้เขาได้รู้ความแตกต่างของตัวอักษรแบบเซริฟ (Serif) แบบซานส์ เซริฟ (Sans Serif) ได้เห็นวิธีเว้นช่องไฟระหว่างตัวอักษร ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่หาไม่ได้ในวิทยาศาสตร์

แม้ว่า หลายคนอาจจะมองว่า การเรียนศิลปะการเขียนไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับเทคโนโลยี แต่เมื่อเวลาผ่านไป 10 ปี ในขณะที่เขากำลังออกแบบคอมพิวเตอร์แมคอินทอชรุ่นแรก เขาได้ใช้ความรู้จากการเรียนศิลปะการเขียนในตอนนั้นมาใช้ในการออกแบบด้วย ทำให้แมคเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกในโลก ที่มีตัวพิมพ์ที่สวยงามโดดเด่นจากคอมพิวเตอร์อื่นๆ

 

  1. คิดมุมกลับ ปรับมุมมอง

ถ้าเรามองสิ่งที่เราคุ้นเคยด้วยมุมเดิมๆ ก็คงจะไม่ได้แนวคิดอะไรที่แปลกใหม่ออกมา แต่ถ้าเราลองเปลี่ยนมุมคิด ปรับมุมมอง เป็นไปได้ว่าเราอาจจะได้ไอเดียใหม่ๆ ออกมาก็ได้ ซึ่งหนึ่งในวิธีที่ใช้ฝึกการปรับมุมมองก็คือ Alternative Uses Test ที่พัฒนาโดย J. P. Guilford ในปี 1967 โดยวิธีการฝึกก็คือ ให้เรานึกถึงว่า เราจะเอาสิ่งของธรรมดา ๆ รอบตัว ไปใช้งานอย่างไร ให้ได้มากที่สุด ในเวลาที่จำกัด เช่น คลิปหนีบกระดาษ ถ้าไม่ใช้หนีบกระดาษ เราเอาไปทำอะไรได้อีกบ้าง? อิฐที่เราใช้ก่อกำแพง ถ้าไม่ใช้ก่อกำแพง เอาไปทำอะไรได้อีกบ้าง ?

ซึ่งการฝึกแบบนี้ จะช่วยในเรื่องของการคิดแบบแยกส่วน ที่ช่วยให้เราพัฒนาความสามารถในการคิดนอกกรอบ และกลายเป็นขุมพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ได้ นั่นเอง

          ความจริงแล้ว ความคิดสร้างสรรค์ก็เหมือน “กล้ามเนื้อ” ถ้าเราอยากให้กล้ามเนื้อเราแข็งแรง เราก็ต้องออกกำลังกายและหากกำลังพบเจอกับภาวะสมองตัน คิดงานไม่ออก เราอาจลองใช้ 3 วิธีเหล่านี้ บริหารกล้ามเนื้อความคิดสร้างสรรค์ ให้กลับมาแข็งแรงขึ้นได้อีกครั้ง

.

.

ติดตาม Life Elevated ได้ที่

Website: https://www.lifeelevated.club

Facebook: https://www.facebook.com/lifeelevatedclub

Twitter: https://twitter.com/lifeelevatedCLB

Instagram: http://instagram.com/lifeelevatedclub

Line OA: https://lin.ee/fBBFzWx

Blockdit: https://www.blockdit.com/lifeelevatedclub

Youtube: https://www.youtube.com/lifeelevatedclub

Pinterest: https://www.pinterest.com/lifeelevatedclub/

Blog สสส.: https://www.thaihealth.or.th/blog/allblog/1285/Life+Elevated+Club/

 

 

Related Articles

Leave a Comment