ทริก ‘ฝึกสมาธิ’ มีสติในทุกสถานการณ์
ในอนาคตทักษะการฝึกสมาธิจะเป็นทักษะที่สำคัญมากพอๆ กับทักษะอื่น เพราะเราอยู่ในโลกที่สามารถสร้างความเครียดให้กับเราได้ทุกชั่วโมงไปจนถึงทุกวินาที เราจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะเรียนรู้วิธีฝึกสมาธิเพื่อรับมือกับอารมณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความโกรธ ความเครียด หรือความเจ็บปวด
การฝึกสมาธิคืออะไร
การฝึกสมาธิ เป็นการฝึกจิตใจของเราเพื่อให้จิตใจสงบ ปลอดโปร่ง และรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นทั้งร่างกายและจิตใจ โดยเราสามารถฝึกสมาธิคนเดียวหรือกับคนอื่นก็ได้ แต่ต้องฝึกทำเป็นประจำ เมื่อฝึกสมาธิเป็นประจำสมองในส่วนที่รับผิดชอบความรู้สึกและความสุขจะมีเลือดไหลเวียนมากขึ้น ทำให้มันหนาขึ้น แข็งแรงขึ้น ส่งผลให้ช่วยลดความเครียด ความกังวล ความเศร้า ช่วยเพิ่มระดับความอดทน การยอมรับ และมีเหตุผลมากขึ้นอีกด้วย
ฝึกสมาธิสู้ความเครียด
เทคนิคการสังเกต รับรู้อารมณ์
- จะนั่งหรือนอนก็ได้ จะลืมตาหรือเปิดตาก็ได้ แต่ที่สำคัญคือให้ร่างกายของเราไม่ถูกรบกวนสัก 3 นาที
- ลืมตาไว้ สูดหายใจเข้าลึกๆ แล้วหายใจออกทางปาก รับรู้ถึงอากาศที่เข้ามาในปอด 3 ครั้ง
- หลับตาลงช้าๆ แล้วคิดถึงการหยุดพัก น้ำหนักของร่างกายที่กดทับลง
- เงี่ยหูฟังเสียงรอบข้าง รับรู้ว่าเป็นเสียงอะไร
- ให้ถามว่าเราหนักไหม เรารู้สึกยังไง
- มีส่วนไหนของร่างกายที่เคลื่อนไหวอยู่บ้าง หน้าอก ไหล่ กระบังลม ท้อง
- ให้วางมือลงบนหน้าท้องเบาๆ เพื่อรับรู้การเคลื่อนไหว
- จดจ่อที่ลมหายใจเท่านั้น นับ 1 เมื่อสัมผัสถึงการยกขึ้นและนับ 2 เมื่อสัมผัสถึงการยกออกไป นับต่อไปจนถึง 10
- ถ้าเราเสียสมาธิให้ปล่อยมันไปแล้วเริ่มนับใหม่อีกครั้ง
ฝึกสมาธิสู้ความเจ็บปวด
เทคนิคการพิจารณาร่างกาย
- จะนั่งหรือนอนก็ได้ ถ้าร่างกายเจ็บปวดมากๆ ให้นอนลงในท่าที่เราสบายที่สุด
- ลืมตาแล้วรับรู้สิ่งรอบตัว สูดลมหายใจเข้าลึกๆ ทางจมูกแล้วออกทางปาก
- หลับตาลงเบาๆ แล้วรับรู้เสียงรอบข้าง ไม่ต่อต้านแค่รับรู้
- เรารู้สึกอย่างไรกับร่างกาย หนักไหม ปวดไหม เจ็บไหม หรือกระวนกระวายไหม
- สัมผัสลมหายใจ รับรู้ว่าส่วนไหนของร่างกายที่ยกขึ้นหรือลง (วางมือบนหน้าท้องก็ได้)
- จดจ่อไปที่ศีรษะถึงปลายเท้าว่าเรารู้สึกเจ็บตรงไหน 10 ถึง 20 วินาที
- จดจ่อที่ศีรษะถึงปลายเท้าอีกครั้งแต่ละเอียดกว่าเดิม 40 วินาที
- จากนั้นให้ค่อยๆ ลืมตาขึ้น
ฝึกสมาธิสู้ความโกรธ
เทคนิคเพิ่มความเมตตากรุณา
- จะหลับตาหรือลืมตาก็ได้ ทำสมาธิหลวมๆ ด้วยการหายใจเข้าออกช้าๆ
- รับรู้น้ำหนักที่กดทับเราอยู่ บนเบาะที่เรานั่งหรือนอนอยู่
- รับรู้เสียงรอบข้างว่ามีเสียงอะไรบ้าง ไม่่ต่อต้านแค่รับรู้เท่านั้น
- เรารู้สึกหนักหรือว่าเบาส่วนไหนของร่างกายที่กำลังยกขึ้นและยกลง (วางมือลงบนท้องก็ได้)
- จินตนาการถึง ’คน’ ที่ทำให้เราโกรธว่าเขากำลังนั่งหันหน้าเข้าหาเราอยู่ (อย่าหยุดรับรู้ลมหายใจเข้าออก)
- เราอาจจะเริ่มเครียดเมื่อจินตนาการเห็นภาพคนที่ทำให้โกรธในใจ
- ทุกๆ ครั้งเมื่อหายใจเข้า ให้คิดว่าคนที่ทำให้เราโกรธเขาอาจจะป่วยทางกายหรือไม่สบายใจอยู่และเราจะกำจัดความรู้สึกนั้นออกไปให้เขา เพื่อที่เขาจะได้มีความสุข
- ทุกๆ ครั้งที่หายใจออก ให้จินตนาการถึงสิ่งที่ทำให้เรามีความสุขที่สุดแล้วแชร์สิ่งนั้นกับคนที่เราโกรธในใจ
- แชร์กับเขาทุกลมหายใจเข้าออกอยู่อย่างนั้น จนกว่าเขาจะยิ้มให้เราและจางหายไป และเมื่อไหร่ที่เขาหายไปแล้วให้เราค่อยๆ ลืมตาขึ้น
จบไปแล้วกับเคล็ดลับทั้ง 3 ที่ทำให้รู้ว่า มนุษย์จะเปลี่ยนแปลงจิตใจได้ไม่ใช่ด้วยเทคโนโลยีแต่ต้องเป็นการฝึกฝนจิตใจด้วย และแม้เราจะไม่สามารถรับมือกับความเครียดได้หมดแต่สามารถเปลี่ยนความสัมพันธ์ที่มีต่อมันได้ และเมื่อเราเปลี่ยนได้ เราก็จะอยู่กับมันได้อย่างไม่เจ็บปวดหรือเจ็บปวดน้อยลง
ติดตาม Life Elevated ได้ที่
Website: www.lifeelevated.club/
Facebook: Life Elevated ชีวิตยกระดับ
Twitter: @lifeelevatedCLB
Instagram: @lifeelevatedclub
Line OA: @lifeelevatedclub
Blockdit: Lifeelevatedclub
Youtube: Life Elevated Club